66 Key Messages (click ที่หัวข้อเพื่อดูรายละเอียด)
1 - เราควรกินอาหารไม่หวาน ไม่มัน ไม่เค็ม และเพิ่มผักผลไม้
2 - เราควรกินอาหารปรุงสุกใหม่ ใช้ช้อนกลาง และล้างมือให้สะอาด
3 - เราควรดื่มน้ำสะอาด 6 - 8 แก้วต่อวันและกินอาหารให้ครบทั้งเนื้อสัตว์ ผัก ข้าว ผลไม้ และสับเปลี่ยนรายการอาหาร โดยไม่จำเป็นต้องกินอาหารเสริม
4 - การกินอาหารหวาน มัน เค็ม กินผักและผลไม้น้อย การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ และไม่ออกกำลังกาย ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบ
5 - เราควรรู้ว่าผลไม้บางชนิดมีน้ำตาลและพลังงานสูง เช่น ทุเรียน ลำไย จึงควรกินแต่น้อย โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน และความดันโลหิตสูง
6 - เราควรลุกขึ้น เดิน เปลี่ยนท่าทาง ทุก 2 ชั่วโมง จะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง
7 - เราควรสนับสนุนให้วัยเรียนและวัยรุ่นทำกิจกรรมที่ได้ออกแรงจนรู้สึกเหนื่อย อย่างน้อย วันละ 1 ชั่วโมง
8 - เราควรออกแรงเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อ วันเว้นวัน
9 - เราสามารถป้องกันหรือเลี่ยงอาการออฟฟิศซินโดรม ด้วยการพักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ และยืดเหยียดกล้ามเนื้อมือและแขนทุก 1 ชั่วโมง อย่างน้อย 1- 10 นาที
10 - เราสามารถจัดการความเครียดของตนเองได้อย่างเหมาะสม
11 - เราควรนอนหลับ(สนิท) 7-8 ชั่วโมงต่อคืน
12 - เราไม่ควรสูบบุหรี่หรือสูดดมควันบุหรี่ เพราะเป็นอันตรายถึงชีวิต และผิดกฎหมาย หากสูบในที่ห้ามสูบ
13 - เราไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคตับแข็ง โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง
14 - เราควรดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน ด้วยการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ อย่างน้อยครั้งละ 2 นาที วันละ 2 ครั้ง และงดกินอาหารหลังแปรงฟัน 2 ชั่วโมง
15 - เราควรประเมินภาวะอ้วนลงพุงได้ด้วยตนเองโดยการวัดเส้นรอบเอวแนวสะดือ ผู้ชายไม่ควรเกิน 90 เซนติเมตร ผู้หญิงไม่ควรเกิน 80 เซนติเมตร
16 - การวัดไข้ วัดความดันโลหิต และจับชีพจรของตนเองได้ เป็นเรื่องจำเป็น
17 - เราควรรู้ค่าความดันโลหิตอัตราการเต้นของหัวใจของตนเองและบอกได้ว่าผิดปกติหรือไม่
18 - เราควรรู้อาการเบื้องต้นของโรคเบาหวาน
19 - เราไม่ควรด่วนสรุปว่าการปวดศีรษะและเวียนศีรษะมาจากโรคความดันโลหิต สูงเท่านั้น ควรตรวจวัดความดันโลหิต และหาสาเหตุอย่างละเอียด ก่อนใช้ยาลดความดันโลหิต
20 - เราควรล้างเขียงให้สะอาด เขียงไม้ต้องหมั่นนำออกผึ่งแดดเพื่อป้องกันเชื้อรา และเก็บไว้ให้ สูงกว่าพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร แยกใช้เขียงสำหรับอาหารดิบ อาหารปรุงสุก และผักผลไม้
21 - เราสามารถดูแลตัวเองเมื่อเจ็บป่วยเบื้องต้นด้วยยาสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน ยาสามัญประจำบ้านทั้งแผนปัจจุบัน แผนโบราณ และใช้ยาเท่าที่จำเป็น
22 - เราต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของตนเอง โรคประจำตัว การแพ้ยา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และยาที่เคยใช้ ต่อแพทย์หรือเภสัชกร
23 - เราต้องมีเป้าหมายในชีวิต และจัดการตนเองให้ไปสู่เป้าหมายนั้นให้ได้
24 - เราควรรู้สัญญาณเสี่ยงของการฆ่าตัวตาย เช่น พยายามทำร้ายตัวเอง และควรเฝ้าระวังผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายเพราะอาจทำซ้ำได้
25 - เราควรรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการลดปริมาณขยะ ลดการใช้โฟม และพลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง ใช้ภาชนะที่เหมาะกับการบรรจุอาหาร อาหารร้อนจัดต้องใช้วัสดุที่เหมาะสม ใช้ถุงผ้าหรือกระเป๋าแทนถุงพลาสติก
26 - “3 เก็บ 3 โรค” ได้แก่ เก็บบ้านไม่ให้รก เก็บขยะ และเก็บน้ำโดยภาชนะเก็บน้ำ ปิดให้มิดชิดไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย ป้องกันไข้เลือดออก ไข้ซิกา และไข้ปวดข้อยุงลาย หรือชิคุนกุนยา
27 - เราควรกำจัดฝุ่นและควันในบ้าน งดการเผาขยะ ลดการจุดธูป ไม่สูบบุหรี่ในบ้าน ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศอย่างถูกวิธี และปลูกต้นไม้ช่วยลดมลพิษ
28 - เราควรรู้จักสัญลักษณ์ของวัตถุและสถานที่อันตราย
29 - เราต้องใส่หมวกนิรภัย คาดเข็มขัดนิรภัย และขับรถไม่เกินความเร็วที่กำหนด ถ้ามีอาการเหนื่อยล้า ง่วง นอน หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่ควรขับรถ
30 - เราควรเฝ้าระวังเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะและยาที่ทำให้เสพติดได้
31 - เมื่อมีอาการไอหรือจามควรป้องกันตนเองและผู้อื่นด้วยการใส่หน้ากากอนามัย เราควรล้างมืออย่างถูกวิธี และควรรู้ว่าสามารถรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ฟรีในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ที่สถานพยาบาลของรัฐใกล้บ้าน
32 - เราต้องไม่ขับถ่ายบนพื้นดินหรือแหล่งน้ำ และใช้ส้วมอย่างถูกต้อง เช่น ไม่ขึ้นไปเหยียบ บนโถส้วมแบบนั่งราบ ชำระล้างโถส้วมหลังการใช้ ล้างมืออย่างถูกวิธีทุกครั้งหลังการใช้ส้วม
33 - การใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธีสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์
34 - การใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ไม่ทำให้ติดเชื้อ
35 - เราควรส่งเสริมการเรียนเพศศึกษา และการใช้ถุงยางอนามัยให้ถูกวิธี
36 - เราควรซื้ออาหารปรุงสำเร็จจากร้านค้าที่สะอาด มีการปิดคลุมอาหารป้องกันความสกปรกและเชื้อโรค ไม่ใช้มือเปล่าหยิบจับอาหาร หากบรรจุมาแล้วต้องมีวันหมดอายุที่ชัดเจน
37 - เราควรอ่านและทำความเข้าใจฉลากผลิตภัณฑ์ บริการสุขภาพ เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ วัตถุอันตราย รู้วิธีการที่จะค้นคว้าตรวจสอบจากแหล่งที่เชื่อถือได้และรู้ว่าจะร้องเรียนได้ที่ใด
38 - เราควรอ่านและตรวจสอบข้อมูลก่อนตัดสินใจเข้ารับบริการสุขภาพ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สมุนไพร และควรดูที่มีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานการผลิตที่ดี(จี เอ็ม พี GMP)
39 - หากเราหรือใครมีอาการใดอาการหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่ ใบหน้าและปากเบี้ยว แขนขาอ่อนแรงซีกเดียว พูดไม่ชัด และเจ็บหน้าอก ควรรีบไปโรงพยาบาลอำเภอหรือโรงพยาบาลจังหวัดทันที
40 - หากเราพบผู้ป่วยฉุกเฉิน ควรแจ้ง 1669 และปั๊มหัวใจเพื่อช่วยชีวิตหากมีภาวะหัวใจหยุดเต้น
41 - หากเราพบคนตกน้ำ ให้ช่วยด้วยวิธี “ตะโกน โยน ยื่น” และ โทร 1669 ห้ามจับอุ้มพาดบ่า/กดท้อง/ห้อยหัว เพื่อเอาน้ำออก หากหยุดหายใจต้องช่วยด้วยการเป่าปากสลับกับการกดนวดหัวใจ
42 - เราควรเข้าใจว่าโรคบางโรคไม่สามารถรักษาให้หายขาด หรือกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิมได้
43 - ก่อนตัดสินใจเลือกวิธีการรักษา เราสามารถขอความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นเปรียบเทียบได้
44 - เราสามารถเลือกการรักษาในระยะสุดท้ายของชีวิตได้
45 - เราต้องรู้ว่าจะใช้บริการสุขภาพตามสิทธิของตนได้ที่ใด รู้จักทีมหมอครอบครัวในพื้นที่ และสามารถสอบถามเรื่องค่าใช้จ่ายตลอดจนข้อสงสัยต่างๆได้
46 - ผู้หญิง อายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อเฝ้าระวังมะเร็งเต้านม
47 - ผู้หญิง อายุ 30 - 60 ปี ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 5 ปีครั้ง ในกรณีปกติ
48 - หญิงวัยเจริญพันธุ์ควรกินยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและวิตามินโฟลิก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อให้สุขภาพแข็งแรงและไม่ซีด
49 - เราควรสร้างการรับรู้ว่าช่วงอายุ 20-30ปี เหมาะสมในการตั้งครรภ์มากที่สุด
50 - หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ควรกินอาหารที่มีประโยชน์มีผักผลไม้ทุกวัน เน้น ปลา ตับ ไข่ และเสริมด้วยยาเม็ดบำรุงครรภ์ ประกอบด้วยไอโอดีน ธาตุเหล็ก วิตามินโฟลิก (วิตามินบี 9) เพื่อลูกจะได้ฉลาดและแข็งแรง
51 - เราควรสนับสนุนการคลอดโดยธรรมชาติซึ่งเป็นวิธีการที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าการผ่าคลอด
52 - หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้คลอดก่อนกำหนด ทารกตายในครรภ์ หรือเกิดมาพิการ มีพัฒนาการผิดปกติ
53 - หญิงหลังคลอดบุตรสามารถลดความเสี่ยงจากอาการซึมเศร้าด้วยการให้นมแม่ ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวร่างกาย และชวนพูดคุย หากมีอาการซึมเศร้า ควรพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา
54 - ต้องให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน โดยไม่ต้องกินน้ำ เมื่อครบ 6 เดือน จึงให้อาหารตามวัยไปพร้อมกัน และสามารถให้นมแม่ต่อเนื่องจนถึงอายุ 2 ปี
55 - เราต้องเฝ้าระวังเมื่อเด็กมีไข้ ถ้ามีจุดหรือผื่นแดงในช่องปาก มีตุ่มที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า อาจเป็นโรคมือเท้าปาก ควรไปพบแพทย์เพื่อปฏิบัติให้ถูกต้อง ระวังการแพร่เชื้อในโรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก และในครอบครัว
56 - เมื่อเราพบว่าเด็กมีไข้ ติดต่อกันเกิน 3 วัน ต้องรีบพาไปพบแพทย์
57 - ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยี เช่น โทรทัศน์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ตามลำพัง หรือไม่ควรใช้เกิน 1-2 ชม.ต่อวัน เพราะจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของสมองและสมาธิของเด็กภายหลังได้
58 - เมื่ออยู่ใกล้แหล่งที่มีน้ำ ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี อยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิด และ สอนเด็กที่รู้ความให้รู้จักป้องกันการจมน้ำ ด้วยหลัก "อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม"
59 - เราควรตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องเล่น ให้อยู่ในสภาพดีก่อนให้เด็กเล่น และดูแลให้เล่น อย่างปลอดภัย
60 - หากเราพบเด็กที่ซุกซน ไม่อยู่นิ่ง ใจลอย ไม่อดทนรอ ไม่ค่อยพูด ไม่สบตา ไม่เข้าสังคม บอกความต้องการไม่ได้ ควรพาไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
61 - เราต้องสนับสนุนพ่อแม่ และผู้ดูแลให้เลี้ยงเด็ก ด้วยการกิน กอด เล่น เล่านิทาน นอน ให้พอ ดูแลช่องปากและฟัน เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการสมวัยในทุกด้าน
62 - เด็กแรกเกิดถึงอายุ 12 ปี ทุกคนควรได้รับวัคซีนที่ครบถ้วนตามวัย
63 - เด็กแรกเกิด ถึง 6 ปี ทุกคนต้อง ได้รับการประเมินพัฒนาการตามวัย
64 - เราควรสนับสนุนให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม เพื่อชะลอวัย มีจิตใจที่แจ่มใส ลดภาวะหลงลืม
65 - เราควรสังเกตอาการของผู้สูงอายุที่เปลี่ยนไป เช่น เหม่อลอย ชอบอยู่คนเดียว นอนไม่หลับ หงุดหงิดง่าย ต่อเนื่องกัน 2 สัปดาห์ขึ้นไป อาจเป็นโรคซึมเศร้า ควรปรึกษาจิตแพทย์
66 - เราควรปรับโครงสร้างและสภาพแวดล้อมของบ้านให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ